NVIDIA ไม่มีแผนสำหรับ Wayland; Linux Mint ไม่มีแผนสำหรับ Unity

รวมข่าวร้ายแสลงใจแฟน Ubuntu ไว้เลยสองข่าว

ข่าวแรก

หลังจาก Ubuntu ประกาศจะเปลี่ยนไปใช้ Wayland สิ่งที่หลายคนกังวลมากก็คือเรื่อง Hardware Compatibility โดยเฉพาะพวกการ์ดจอ และเมื่อวาน NVIDIA ก็ได้ทำเซอร์ไพรส์ด้วยการประกาศว่า “NVIDIA ไม่มีแผนรองรับ Wayland”

We have no plans to support Wayland.

เป็นแค่ประโยคสั้นๆ ประโยคเดียว แต่มันก็เหมือนกับการกำหนดชะตาชีวิตของแฟนยักษ์เขียวทุกคน หมายความว่าหลังจากที่ Ubuntu เปลี่ยนไปใช้ Wayland โดยสมบูรณ์แล้ว ทางเลือกเดียวในการใช้ Ubuntu ก็คือ Nouveau ซึ่งเป็น Open Source driver เท่านั้น ในสภาพตอนนี้รู้สึกว่า Nouveau เองก็ยังไม่พร้อมสมบูรณ์เท่าไรนัก โดยเฉพาะในด้าน 3D graphics เอาเป็นว่าลุ้นๆ กันไปแล้วกัน

ที่มา http://www.omgubuntu.co.uk/2010/11/nvidia-have-no-plans-to-support-wayland/

ข่าวที่สอง

Clement Lefevbre (หรือนามแฝงในอินเตอร์เน็ต “Clem”) ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บ Muktware ว่า”Linux Mint จะไม่เปลี่ยนไปใช้ Unity และก็ไม่เปลี่ยนไปใช้ GNOME Shell ด้วย” Linux Mint จะยังคงใช้ GNOME หน้าตาเดิมๆ ต่อไป

We’re not planning to switch to Unity but to keep our desktop as similar as it is at the moment. So it’s hard to say how we’ll achieve this technically but we’re aiming at using Gnome without Gnome Shell 🙂

ส่วนความเห็นเกี่ยวกับ Wayland นั้น ยังคงคลุมเครืออยู่มากครับ แต่ที่แน่ๆ คือ Linux Mint ก็ยังไม่มีแผนเกี่ยวกับ Wayland ในเวลาอันใกล้นี้เหมือนกัน โดยจะรอดูสภาพการณ์ของทางฝั่ง Ubuntu ไปก่อน (แต่ผมคิดว่าถ้า Ubuntu เปลี่ยนไปใช้ Wayland เต็มตัวเมื่อไร Linux Mint ก็ต้องใช้ Wayland ตาม ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะย้ายไปอิงกับ distro อื่นแทน)

… it’s an interesting project. Ubuntu isn’t going to switch to it this year and we’ll see future releases keep X for now. The backing of canonical behind this project could bring it up to speed as a really interesting alternative and a good successor to X, just as it could make it something that only suits Ubuntu itself.. the future will tell. For now we’re sticking with X with no plans to change, but we’ll keep an eye on the development of Wayland and see where it’s going in the near future.

ที่มา http://www.omgubuntu.co.uk/2010/11/linux-mint-will-not-switch-to-unity

Marlin ตัวเป็นๆ มาแล้ว

จากที่เคยแนะนำ Marlin กันไปตั้งแต่ยังที่เป็น Mock-up ตอนนี้ Marlin file browser ตัวใหม่ที่ออกแบบโดยทีม Elementary เจ้าเก่าก็ได้เริ่มออกมาเป็นตัวเป็นตนกันแล้ว

จะเห็นว่า Marlin ตัวเริ่มต้นนี้หน้าตาเรียบง่ายมาก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ตรงตามแนวทางของ mock-up ที่ได้ออกมาก่อนหน้านี้ ตัว Marlin เขียนด้วยภาษา C และ Vala พัฒนาด้วยเครื่องมือจาก GTK3 (toolkit ของ GNOME 3) แบบเต็มพิกัด

ใครสนใจก็ไปตามดูความคืบหน้าของ Marlin ได้จาก https://launchpad.net/marlin แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มี PPA แต่ผมคิดว่าไม่น่าเกิน Ubuntu 11.04 เราก็คงได้เห็น PPA for Marlin จาก Elementary Team แน่นอน

ที่มา http://www.omgubuntu.co.uk/2010/11/nautilus-elementary-is-dead-marlin-file-browser/

สถิติเกี่ยวกับ password จาก BitDefender

อันนี้เป็นสถิติการสำรวจจาก BitDefender บริษัทซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยที่เราคุ้นชื่อกันดี สุ่มตัวอย่างให้คน 1,000 คนจาก 16 ประเทศทำแบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่างมีผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆ กัน และมีอายุเฉลี่ย 29.5 ปี

  • 67% มี online accounts ตั้งแต่ 5 อันขึ้นไป, 25% มี 6 อันขึ้นไป และเกือบหนึ่งในสามมี 7 อันขึ้นไป
  • 73% ใช้ password เดียวกันสำหรับทุก accounts
  • หนึ่งในสี่ใช้ password ที่มีความยาวเพียง 6 ตัวอักษร
  • 63% ตั้ง password โดยใช้แค่อักษรตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียว
  • 5% เท่านั้นที่ตั้ง password โดยใช้ตัวเลขหรืออักขระพิเศษ (เช่น $, %, !, <, > เป็นต้น) ร่วมด้วย
  • 12% ยอมบอก password ให้กับผู้สอบถามเพื่อต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัย (ตลกดีเหมือนกัน Social Engineering กันเนียนๆ เลย ผมเดาว่าคำแนะนำแรกคงเป็น “คุณไม่ควรบอก password ให้กับคนแปลกหน้า” :-P)

น่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ยังไงก็คงต้องบอกซ้ำกันตรงนี้อีกทีว่า “password ที่ดีควรจะ”

  • มีความยาว 8 ตัวอักษรขึ้นไป (ปัจจุบัน 8 ตัวอักษรก็ไม่เพียงพอแล้ว ถ้าจะให้มั่นใจต้อง 12 ตัวโลด)
  • ประกอบด้วยตัวพิมพ์เล็ก, ตัวพิมพ์ใหญ่, ตัวเลข, และอักขระพิเศษ
  • ไม่ควรใช้ passwords ซ้ำๆ กันหลาย accounts โดยเฉพาะ account ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมออนไลน์ควรตั้งแยกเป็นพิเศษ
  • อย่าบอก password ให้คนอื่นรู้เป็นอันขาด

ที่มา http://news.softpedia.com/news/Only-Five-Percent-of-Users-Have-Non-Letter-Characters-in-Their-Password-165085.shtml