Ubuntu 11.04 จะจำกัดให้มี workspaces ได้แค่ 4 อัน

Workspaces หรือ Virtual desktops เป็นฟีเจอร์ที่ Desktop Environment ที่เป็น FOSS แทบทุกตัวต้องมี ไม่ว่าจะเป็น GNOME, KDE, Xfce ฯลฯ หน้าที่ของมันก็ตามชื่อเลย คือ มันจะทำให้เรามี desktops ใช้งานได้มากกว่า 1 อัน เราสามารถสลับการทำงานไปยัง workspace ไหนก็ได้ ย้ายหน้าต่างไปมาระหว่าง workspace ก้ได้ (อาจจะเข้าใจยากหน่อยสำหรับคนที่ใช้แต่ Windows ลองนึกถึง “Spaces” ของ Mac OS X ดู นั่นแหละคือ Virtual desktops — คิดดูเอาเองแล้วกันว่าเป็นฟีเจอร์ที่เจ๋งและมีประโยชน์ขนาด Mac ยังต้องลอกเอาไปใช้)

ใน Ubuntu 11.04 Natty Narwhal ไม่ทราบว่าเป็นข้อจำกัดอันใด จำนวน Workspaces สูงสุดที่มีได้จะถูกจำกัดไว้เพียงแค่ 4 อันเท่านั้น Mark Shuttleworth เป็นคนออกมาประกาศเรื่องนี้ด้วยตัวเองใน Ayatana Mailing List ที่ Launchpad

however, we will limit the number of workspaces to 4 in Natty, with experimentation under way for more workspaces in line with the interactions we support in Natty.

ดูท่าแล้วคงจะไม่พ้น ปัญหาของ Unity แน่ๆ หรือจะเป็นที่การย้ายฐาน Unity ไปใช้ Compiz ก็มีสิทธิ์เป็นไปได้เหมือนกัน แต่คำว่า “experimentation under way” ก็น่าจะช่วยให้ใจชื้นได้ว่านี่คงจะเป็นข้อจำกัดแค่ชั่วคราวเท่านั้น

เกร็ดน่าสนใจ ใน GNOME แบบต้นฉบับ + Compiz สามารถสร้าง workspaces ได้สูงสุด 16 × 16 หรือ 256 อัน! ไม่รู้จะเยอะไปไหน

ที่มา http://www.omgubuntu.co.uk/2010/10/workspace-representation-in-unity/

ป.ล. จริงๆ มีแค่ 4 ผมก็ไม่แคร์นะ ทุกวันนี้ผมเปิดใช้แค่ 2 อันเอง 😛

โฆษณา Ubuntu ตัวใหม่ สดใส ไฉไล

วิดีโอโฆษณานี้ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในงาน Ubuntu Developer Summit วันที่ 25 ตุลาคม 2010 ช่วงที่ Mark Shuttleworth ขึ้นพูด

ที่มา http://www.omgubuntu.co.uk/2010/10/ubuntu-video-advert-canonical/

กระแสคลื่นปฏิกิริยาลูกแรกต่อ Unity ใน Ubuntu 11.04 : GNOME ยังไม่เชื่อใจ, Compiz ได้เฮ

หลังจาก Mark Shuttleworth ประกาศยืนยันแล้วว่า Ubuntu เวอร์ชันหน้า 11.04 Natty Narwhal ใช้ Unity เป็น default desktop ทั้งใน Desktop Edition และ Netbook Edition ก็มีกระแสตอบรับออกมามากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางตกใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ความรู้สึกของผู้ใช้ที่มีแง่ลบและแง่บวกปนๆ กันไป (แต่ดูเหมือนว่าแง่ลบจะมากกว่าแง่บวกนะ)

สำหรับโครงการ Free/Open Source Software อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน มีทั้งค่ายที่สนับสนุน และค่ายที่ไม่เห็นด้วย

ค่ายที่ไม่เห็นด้วยแน่ๆ คือ GNOME และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ GNOME ออกอาการไม่พอใจกับ Ubuntu คราว NotifyOSD (Ayatana) ที่ Ubuntu ทำเองใช้เองคนเดียวก็สร้างความงุงิๆ ให้กับชุมชน GNOME อยู่พอควร (ถ้าสังเกตดีๆ หลังจากนั้นไม่นาน GNOME Shell ก็มีการเพิ่ม notification system แบบใหม่เข้ามา จะเป็นเหตุบังเอิญหรือความตั้งใจไล่ตาม NotifyOSD ก็ไม่อาจรู้ได้) Read more of this post

นามบัตร Steve Jobs เมื่อปี 1979

ภาพข้างล่างที่ปรากฏต่อสายตาของท่านนี้คือนามบัตรของ Steve Jobs ศาสดา CEO คนปัจจุบันของ Apple Inc. (Apple Computer Inc. เดิม) ในปี ค.ศ. 1979 ประมาณสามปีหลังจากการก่อตั้ง Apple Computer Inc. (Apple ถือกำเนิดในวันที่ 1 เมษายน 1976)

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

หลายคนคงอาจไม่เชื่อว่านี่เป็นของจริง เพราะมันดูกระจอก งอกง่อย ธรรมด๊าธรรมดาเกินไปสำหรับอภิมหาซูปเปอร์สตาร์ไอดอลขวัญใจมหาชนอย่าง Steve Jobs แต่อย่าให้ภาพมันหลอกตาครับ Pascal Finette คนที่ tweet ภาพนี้เป็นคนแรก (Pascal Finette เป็น Mozilla Labs director เขาได้ถ่ายรูปนามบัตรนี้จากคนอื่นที่เอามาให้ดู) ได้เขียนบรรยายสิ่งอัศจรรย์ที่ซ่อนอยู่ในนามบัตรอันนี้ว่า

  • บนนามบัตรมีโลโก้ของ Apple พิมพ์นูนอยู่ด้วย (มองไม่เห็นในรูป)
  • เบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ในนามบัตรยังใช้ได้จริง ต่อตรงไปยัง Main switch board ของ Apple
  • font ที่ใช้ตรงหัวชื่อ Apple Computer inc. คือ “Motter Tektura” ซึ่งเป็น font เดียวกับโลโก้ของ Reebok (มิน่าถึงว่าคุ้นๆ)

ที่มา http://www.networkworld.com/community/blog/steve-jobs-business-card-1979

แฮ็ก Facebook, Twitter เครื่องที่อยู่ในวง Wireless LAN ง่ายๆ ด้วย Firesheep

ในงาน ToorCon เมื่อสุดสัปดาห์ 22-24 ตุลาคม 2010 ที่ผ่านมา Eric Butler ได้โชว์วิธีการแฮ็ก Facebook, Twitter, และ Social Networking sites อื่นๆ ด้วยวิธีที่ง่ายแสนง่าย เพียงแค่การลง Firefox addon ตัวหนึ่งที่เขาพัฒนาขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

ลองดูวิดีโอสาธิตข้างล่างนี้ (คนสาธิตในวิดีโอนี้ไม่ใช่ Eric Butler นะครับ)

Firesheep คือ Firefox addon ที่กรองหา cookie ที่ใช้เข้าล็อกอินเว็บไซต์ของคนอื่นๆ ที่อยู่ในวง Wireless LAN (Wifi) เดียวกัน ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถสวมรอยเข้าไปใช้ในล็อกอินนั้นได้ทันที ถ้าเรียกเป็นภาษาทางการหน่อยๆ เทคนิคนี้มีชื่อว่า “HTTP Session Hijacking” แต่ถ้าภาษาชาวบ้านก็คงจะเรียกประมาณว่า “ขโมย cookie” มั้ง เทคนิคนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว แต่ก็ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญมากนัก เพราะก่อนหน้านี้คนที่จะทำแบบนี้ได้ต้องมีความรู้ด้าน Network นิดหน่อย ไม่ใช่ง่ายขนาดว่าคลิกๆ ไม่กี่ทีแบบที่โชว์ในวิดีโอ อันนี้มันง่ายเว่อร์ เด็กอนุบาล 2 ข้างบ้านก็สามารถแฮ็ก Facebook คุณได้

อย่างที่ในวิดีโอบอกนะครับ การสาธิตนี้ไม่ใช่การสนับสนุนให้ไปใช้ในทางที่ผิด แต่เป็นการยกระดับให้คนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาด้านความปลอดภัย ถ้าคุณไม่อยากโดน Firesheep (หรือโปรแกรมอื่นใดที่ทำงานคล้ายกัน) เล่นงาน Firefox addon อีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HTTPS Everywhere ช่วยคุณได้ในระดับหนึ่ง เพราะมันจะเข้ารหัสทุกอย่าง ทุกเว็บที่คุณเข้าไปดู

สามารถดาวน์โหลด Firesheep มาลองทดสอบได้จาก http://codebutler.github.com/firesheep/ ตอนนี้ยังมีแค่เวอร์ชันสำหรับบน Windows และ Mac เท่านั้นนะครับ บน Linux รออีกหน่อย

ที่มา